1. คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก โดยเฉพาะ หน้าที่ต่อสังคม เป็นประเภทมือใคร ยาวสาวได้สาวเอา เกิดเป็น ธุรกิจการเมืองธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ประเทศชาติล้าหลังไปเรื่อยๆ
2. การศึกษายังไม่ทันสมัย คนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้ขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่างๆ ไม่กล้าแสดงออกขี้อายไม่มั่นใจในตัวเอง เราจึงตา มหลังชาติอื่น จะเห็นว่าคนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอกเพื่อโอกาสที่ดีกว่า
3. มองอนาคตไม่เป็น คนไทยมากกว่า 70% ทำงานแบบไร้อนาคตทำแบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ น้อยคนนักที่จะทำงานแบบเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอ มีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน
4. ไม่จริงจังในความ รับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำแบบผักชี โรยหน้าหรือทำด้วยความเกรงใจ ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่จะให้ความสำคัญกับสัญญา หรือข้อตกลงอย่างเคร่ง ครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะยาว ปัจจุบันคนไทยถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถือด้านนี้ลงเรื่อยๆ
5. การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่ ประชากร ประมาณ 60-70% ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนา คุณภาพชีวิตของตัวเอง และชุมชนซึ่งเป็น หน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม
6. การบังคับ กฎหมายไม่เข้มแข็ง และดำเนินการไม่ต่อเนื่อง ทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ปราบปรามไม่จริงจัง การดำเนินการ ตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจหรือบริวารจะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อน ไม่มีมาตรฐาน ต่างกับประเทศที่เจริญแล้ว ข้อนี้กระบวนการยุติธรรมจะต้องปรับปรุง
7. อิจฉาตาร้อน สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ เลี่ยงเป็นศรีธนญชัยยกย่องคนมีอำนาจ มีเงิน โดยไม่สนใจภูมิหลัง โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้วไป เกาะผู้มีอำนาจ เอาตัวรอด คนพวกนี้ร้ายยิ่งกว่า ผู้ก่อการร้ายดีแต่พูด มือไม่พายเอาเท้ารานํ้า ทำให้คนดีไม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว
8. เอ็นจีโอค้านลูกเดียว เอ็นจีโอ บางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์เอ็นจีโอดีๆ ก็มี แต่บ้านเรามีน้อย บ่อยครั้งที่ประเทศเราเสียโอกาสอย่างมหาศาล เพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริงๆ ไม่ได้พูดกัน
9. ยังไม่พร้อมในเวทีโลก การสร้างความน่าเชื่อถือในเวที การค้าระดับโลกของเรายังขาดทักษะและทีมเวิร์ค ที่ดี ทำให้สู้ประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ไม่ได้
10. เลี้ยงลูกไม่เป็น ปัจจุบัน เด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกันเป็นขี้โรคทางจิตใจ ไม่เข้มแข็ง เพราะเราเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเองต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เขาจะกระตือรือร้นช่วยตนเองขวนขวาย แสวงหา ค้นหาตัวเอง และเขาจะสอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม
ที่มา ความคิดเห็นของ วิกรม กรมดิษฐ์